ท่อส่งน้ำมัน

การทำงานทั่วไปของท่อส่งน้ำมัน

เมื่อกล่าวถึงเรื่องการของการขุดเจาะน้ำมันจากกลางอ่าวกลางทะเลแล้วหล่ะก็..หลายๆ ท่านคงจะสงสัยกันอย่างแน่นอนใช่มั้ยครับว่า น้ำมันดิบ เดินทางมาสูโรงกลั่นได้อย่างไร แล้วน้ำมันส่งผ่านท่อไปตามภูมิภาคของไทยได้แบบไหน บทความนี้เราจะพาท่านผู้อ่านทุกๆ ท่านไปหาคำตอบกันครับ จะเป็นอย่างไรบ้างนั้นเราไปดูกันดีกว่าครับ

ทำความรู้จักกับ  ระบบท่อส่งน้ำมัน

เป็นระบบที่สามารถขนส่งน้ำมันได้หลายชนิดภายในท่อเดียวกัน ควบคุมการขนส่งน้ำมันด้วยระบบ SCADA (Supervisory Control and Data Acquisition System)  ซึ่งเป็นระบบคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการควบคุมการจัดส่งน้ำมันทางท่อ  โดยสามารถสั่งการไปยังสถานีสูบจ่าย คลังน้ำมันต้นทางและปลายทาง รวมทั้งจุดต่าง ๆ ของระบบท่อ

การส่งน้ำมันด้วยระบบท่อส่งในประเทศไทยเป็นอย่างไร?

การขนส่งน้ำมันผ่านระบบท่อ 3 เส้นทางหลักคือ

●ท่อส่งน้ำมันศรีราชา-สระบุรี มีความยาว 255 กิโลเมตร ออกแบบให้มีกำลังการขนส่งสูงสุด 26,000 ล้านลิตรต่อปี มีเส้นทางเริ่มต้นจากสถานีสูบจ่ายน้ำมันต้นทางที่ศรีราชา จังหวัดชลบุรี โดยรับน้ำมันจากโรงกลั่นน้ำมันเอสโซ่ โรงกลั่นน้ำมันไทยออยล์ คลังน้ำมันปตท. และคลังน้ำมันของบริษัท ชลบุรี เทอร์มินัล จำกัด เพื่อลำเลียงไปยังคลังปลายทางที่อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี และที่อำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี โดยมีท่อแยกไปที่คลังน้ำมันท่าอากาศยานดอนเมือง

● ท่อส่งน้ำมันมาบตาพุด-ศรีราชา แทปไลน์ได้ขยายระบบท่อส่งจากศรีราชาไปเชื่อมต่อยังโรงกลั่นน้ำมันพีทีที โกลบอลเคมีคอล และโรงกลั่นสตาร์ปิโตรเลียม ที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด มีความยาวท่อประมาณ 67 กิโลเมตร ออกแบบให้มีกำลังการขนส่งสูงสุด 10,600 ล้านลิตรต่อปี

● ท่อส่งน้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยานสุวรรณภูมิ แทปไลน์ได้ขยายระบบท่อส่งจากคลังน้ำมันลำลูกกาไปยังคลังน้ำมันท่าอากาศยานสุวรรณภูมิระยะทาง 38 กิโลเมตร โดยมีขีดความสามารถจัดส่งน้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยานให้กับท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เพื่อรองรับผู้โดยสารได้ 100 ล้านคนต่อปี

ระบบท่อส่งน้ำมันได้รับการออกแบบ และก่อสร้างด้วยมาตรฐานควรเป็นอย่างไรบ้าง?

– ท่อส่งน้ำมันทำด้วยเหล็กเหนียว และฝังอยู่ใต้ดิน

–  ผิวท่อทั้งภายนอกและภายในเคลือบด้วย FBE (Fusion Bonded Epoxy) เพื่อป้องกันการผุกร่อน

–  ติดตั้งระบบ Cathodic Protection System ซึ่งเป็นระบบไฟฟ้าที่ช่วยป้องกันการผุกร่อนของท่อ

–  มีการพอกคอนกรีตรอบนอกท่อ กรณีวางท่อใต้น้ำและดินเหลว

–  ติดตั้ง Block Valve ทุกระยะ 16 กิโลเมตร และมีผู้ดูแลประจำตลอด 24 ชม.

–  ทำความสะอาดภายในท่อด้วย Cleaning Pig ทุกปี

– ทำการตรวจสอบการผุกร่อนของท่อด้วย Intelligence Pig ทุก 5 ปี

– มีทีมงานคอยดูแล เพื่อเฝ้าระวังตามแนวท่อ รวมทั้งมีป้ายคำเตือนซึ่งมีเบอร์โทรฉุกเฉิน 24 ชม.

ข้อดีของการส่งน้ำมันด้วยระบบท่อ

1.ประสิทธิภาพที่เชื่อถือได้ การขนส่งโดยท่อ จะช่วยลดปริมาณการสูญหายของพลังงานระหว่างขนส่ง

2.มีมาตรฐานสากลรองรับ มีความปลอดภัยตามการครวบคุมการปฏิบัติ

3.ไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชนหลังก่อสร้างเสร็จ เนื่องจาก น้ำมันในท่อ มีอุณหภูมิใกล้เคียงกับสภาพแวดล้อม ขณะส่งไม่ส่งเสียงดังรบกวนชุมชนโดยรอบ, ลดปริมาณการจารจรบนท้องถนนได้ด้วย

4 สามารถลดต้นทุนอุตสหกรรมต่างๆ ที่ใช้ก๊าซเป็นเชื้อเพลิงในระยะยาว

5 ส่งได้อย่างต่อเนื่องในปริมาณที่มากๆ

เป็นอย่างไรบ้างครับกับข้อมูลเกี่ยวกับ “การทำงานทั่วไปของท่อส่งน้ำมัน” ที่มาพร้อมกับท่อส่งน้ำมันประเภทต่างๆ ที่ควรรู้ อีกทั้งยังได้ทราบข้อดีของการส่งน้ำมันผ่านท่ออีกด้วย บทความนี้จึงหวังว่าทุกๆ ท่านจะชอบและได้รับความรู้กันอย่างเต็มอิ่มและได้ทราบว่ามีท่อส่งน้ำมันตรงส่วนไหนของประเทศไทยอีกด้วย หวังว่าจะได้ช่วยสร้างประโยชน์กันอีกนะครับ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *