โรงกลั่นน้ำมัน

ธุรกิจโรงกลั่นน้ำมันและความยั่งยืนของธุรกิจ

มีคำกล่าวที่ว่า “น้ำมัน คือ ทองคำเหลว” ซึ่งถือเป็นวำนวนคติที่น่าสนใจและเรียกได้ว่าจะเป็นตามนั้นๆ จริงๆ ก็ไม่แปลกครับ ซึ่งหากใครได้ครอบครองเกี่ยวกับธุรกิจน้ำมันแล้วหล่ะก็…เปรียบได้ว่ามีเงินมหาศาลเลยก็ได้ครับ บทความนี้เราจะพาทุกๆ ท่านไปพบกบั “ธุรกิจโรงกลั่ั่นน้ำมันและความยั่งยืนของธุรกิจ” และความยั่งยืนของเศษรฐกิจที่เกี่ยวกับข้องกับ “ราคาน้ำมัน” กันอย่างไม่น่าเชื่อ วันนี้เราจะพาท่านไปหาคำตอบกันครับ

ทำความรู้จักกับ โรงกลั่นน้ำมัน

โรงกลั่นน้ํามันเชื้อเพลิงสร้างขึ้นมาเพื่อผลิตน้ำามันสําเร็จรูป โดยนำน้ามันดิบที่เข้าสู่โรงกลั่นน้ํามันมาจาก การนําเข้าน้ํามันดิบจากต่างประเทศ และขุดเจาะปิโตรเลียมภายในประเทศ โดยน้ํามันดิบที่ได้ไม่สามารถนํามาใช้ประโยชน์ได้โดยตรง ต้องผ่านกระบวนการกลั่น ที่จะแยกสารประกอบการออกจากกันโดยอาศัย จุดเดือดที่ต่างกันของแต่ละสารประกอบเป็นตัวแยกน้ํามันดิบออกเป็นส่วนต่างๆ จึงจะกลายเป็นน้ํามันสําเร็จรูป และผลพลอยได้ชนิดต่างๆ อาทิก๊าซหุงต้ม น้ํามันเบนซิน น้ํามันอากาศยาน น้ํามันก๊าด น้ํามันดีเซลน้ํามันเตา และยางมะตอย เป็นต้น

ภาพรวมของกระบวนการกลั่นน้ำมัน

กระบวนการกลั่นน้ำมัน คือ กระบวนการการแยกโมเลกุลสารไฮโดรคาร์บอนที่อยู่ในน้ำมันดิบและแปรสภาพสสารดังกล่าวให้เป็นผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมสำเร็จรูปที่มีมูลค่าสูงกว่า ซึ่งโรงกลั่นน้ำมันแต่ละแห่งจะมีการออกแบบให้สามารถกลั่นน้ำมันดิบ รวมถึงวัตถุดิบอื่นๆ ให้เป็นผลิตภัณฑ์ชนิดต่างๆ ตามความต้องการของตลาด สามารถยกตัวอย่างกระบวนการกลั่นเพื่อเป็นความรู้เบื้องต้นได้ดังนี้

●กระบวนการกลั่นแยกส่วน (Fractionation)

     กระบวนการนี้เกิดขึ้นในหน่วยกลั่นน้ำมันดิบ โดยการป้อนน้ำมันดิบจากถังพักเข้าสู่หน่วยกลั่นและผ่านกระบวนการให้ความร้อนจนถึงระดับอุณหภูมิประมาณ 350 องศาเซลเซียสด้วยกระบวนการถ่ายเทความร้อน โดยใช้อุปกรณ์แลกเปลี่ยนความร้อน (Heat Exchangers) และเตาเผา (Fired Heaters) เมื่อนำเข้าสู่หอกลั่นแยกผลิตภัณฑ์ตามจุดเดือด (Fractionation Tower) น้ำมันดิบจะมีการแยกเป็นผลิตภัณฑ์ชนิดต่างๆ

●กระบวนการปรับปรุงคุณภาพ (Treating)

เป็นกระบวนการกำจัดสารปนเปื้อนต่างๆ ออกจากน้ำมันใส เช่น สารประกอบไนโตรเจน สารประกอบกำมะถัน เป็นต้น และปรับปรุงคุณสมบัติเชิงกายภาพ เช่น เสถียรภาพจากความร้อน (Thermal Stability) และเสถียรภาพของสี (Color Stability) เป็นต้น เพื่อให้น้ำมันใสกลายเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีระดับความบริสุทธิ์และคุณภาพตามความต้องการของตลาด ในหลายกรณี กระบวนการเหล่านี้ต้องอาศัยปฏิกิริยาของสารเร่งปฏิกิริยาเคมี (Catalytic Reaction) ซึ่งลักษณะและคุณสมบัติของสารเร่งปฏิกิริยามีความแตกต่างกันออกไป

●กระบวนการปรับเพิ่มค่าออกเทน (Octane Number Enhancement)

     เนื่องจากแนฟทาที่ได้จากหน่วยกลั่นน้ำมันดิบจะมีค่าออกเทนต่ำและมีคุณภาพไม่เหมาะสมที่จะนำไปใช้ผสมในน้ำมันเบนซิน จึงจำเป็นต้องผ่านกระบวนการกลั่นแยกให้เป็นแนฟทาชนิดเบา (Light Naphtha) และแนฟทาชนิดหนัก (Heavy Naphtha) ด้วยการนำเข้าสู่หน่วยปรับปรุงคุณภาพที่แตกต่างกัน โดยแนฟทาชนิดเบาจะได้รับการปรับปรุงคุณภาพที่หน่วยเพิ่มค่าออกเทนด้วยสารเร่งปฏิกิริยาโดยใช้ไฮโดรเจนร่วม (Isomerization Unit) เพื่อเพิ่ม ค่าออกเทนจากประมาณ 65 – 70 เป็นประมาณ 88 – 89 ทำให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีสารอะโรเมติกส์ (Aromatics) เจือปน จึงเหมาะสมที่จะใช้ผสมเป็นน้ำมันเบนซินไร้สารตะกั่ว ซึ่งมีปริมาณสารอะโรเมติกส์ต่ำ สำหรับแนฟทาชนิดหนักจะนำไปปรับปรุงคุณภาพที่หน่วยเพิ่มค่าออกเทนด้วยสารเร่งปฏิกิริยา (Continuous Catalyst Regeneration Platformer Unit : CCR) เพื่อเพิ่ม ค่าออกเทนจากระดับปกติที่ประมาณ 40 – 50 เป็น 102 – 103

ธุรกิจโรงกลั่ั่นน้ำมันกับความยั่งยืนทางธุรกิจอย่างไร?

ต้องบอกไว้เลยว่า “ธุรกิจโรงกลั่นน้ํามัน” เป็นธุรกิจที่อยู่บนความเสี่ยงและความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน ราคาน้ํามันสําเร็จรูปจากโรงกลั่นและราคาน้ํามันดิบจากการนําเข้า เป็นราคาที่อยู่บนปัจจัยความเสี่ยงจากราคาตลาดโลก รัฐไม่สามารถกําหนดหรือควบคุมราคาได้เอง อีกทั้งราคาน้ํามันสําเร็จรูป และราคาน้ํามันดิบต้องซื้อขายล่วงหน้าด้วย จึงเกิดความเสี่ยงกับผลประกอบการธุรกิจโรงกลั่นน้ํามันที่ไม่มีความแน่นอน การดําเนินธุรกิจโรงกลั่นน้ํามันเหมือนกับวัฏจักรเศรษฐกิจธุรกิจด้านอื่นๆ

และนี้คือข้อมูลเกี่ยวกับ “ธุรกิจโรงกลั่ั่นน้ำมันและความยั่งยืนของธุรกิจ” ที่เราได้นำมาฝากท่านผู้อ่านกันนบทความนี้ครับ หวังว่าจะเป็นประโยชน์กันนะครับ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *